การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการความรู้ด้านสุขภาพในชุมชนของสถานีอนามัยและ 2) เพื่อวัดสภาพการจัดการความรู้ด้านสุขภาพในชุมชนของสถานีอนามัย มีการดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการความรู้ด้านสุขภาพในชุมชนของสถานีอนามัย และระยะที่ 2 การวัดสภาพการจัดการความรู้ด้านสุขภาพในชุมชนของสถานีอนามัยดำเนินการวิจัยในสถานีอนามัยทั่วประเทศจำนวน 9759 แห่ง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไลท์
ผลการวิจัย พบว่า ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดกความรู้ด้านสุขภาพในชุมชนของสถานนีอนามัย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 14 องค์ประกอบย่อย และ 45 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) องคืประกอบหลักด้านบุคลากร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย คือ ด้านภาวะผู้นำที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ ด้านการเสริมพลักอำนาจให้บุคลากร จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ ด้านองค์ประกอบย่อยด้านการจูงใจ จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบหลักด้านกระบวนการในการจัดการความรู้ด้านสุขภาพในชุมชน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบย่อย คือ ขั้นกำหนดความรู้ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ ขั้นค้นหาความรู้ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ ขั้นเลือกวิธีการในการจัดการความรู้จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ ขั้นได้ความรู้ใหม่ จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ ด้านวิสัยทัศน์/พันธกิจ/กลยุทธ์จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ ด้านวัฒนธรรมองค์กร จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ ด้านบรรยากาศการทำงาน จำวน 4 ตัวบ่งชี้ และ 4)องค์ประกอบหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมี 1 องค์ประกอบย่อย คือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 3 ตัวบ่งชี้
ระยะที่ 2 การสภาพการจัดการความรู้ด้านสุขภาพในชุมชนของสถานีอนามัย พบลว่าการปฏิบัติงานด้านการจัดการความรู้ด้านสุขภาพในชุมชนของสถานีอนามัยทั่วประเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเมือจำแนกองค์ประกอบหลัก พบว่า องค์ประกอบหลักด้านบุคลากร องค์ประกอบหลักด้านกระบวนการในการจัดการความรู้ด้านสุขภาพในชุมชน องค์ประกอบหลักด้านองค์กร องค์ประกอบหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเลี่ยอยู่ในระดับมาก และพบว่าองค์ประกอบหลักด้านสุขภาพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด