เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: มูลเหตุจูงใจในการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
ดร. อรรณพ  สนธิไชย หัวหน้าวิจัย
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   ชาวอินเดียนแดงซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในทวีปอมริกา ได้เริ่มต้นใช้ยาสูบเป็นพวกแรก โดยปลูกยาสูบเพื่อใช้เป็นยาและนำมาสูบในพิธีกรรมต่างๆ ในพ.ศ.2035 เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เดินเรือไปขึ้นฝั่งที่ซันซัลวาดอร์ ในหมู่เกาะเวสต์อินดีส์นั้น ได้เห็นชาวพื้นเมืองนำเอาใบไม้ชนิดหนึ่งมาม้วนและจุดไฟตอนปลายแล้วดูดควัน ต่อมา พ.ศ.2091 มีการปลูกยาสูบในบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสในทวีปอเมริกาใต้เพื่อเป็นสิค้าส่งออก เป็นผลให้ยาสูบแพร่หลายเข้าไปในประเทศโปรตุเกสและสเปนตามลำดับ ต่อมาใน พ.ศ.2103 นายฌอง นิโกต์ (Jean Nicot) เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศโปรตุเกสได้ส่งเมล็ดยาสูบมายังราชสำนักฝรั่งเศส ชื่อของนายนิโกต์จึงเป็นที่มาของชื่อสารนิโคติน (Nicotin) ที่รู้จักกันในปัจจุบัน ใน พ.ศ. 2107 เซอร์จอร์น ฮอคกินส์ (Sir John Hawkins) ได้นำยาสูบเข้าในประเทศอังกฤษ และใน พ.ศ.2155 นายจอร์น รอลฟ์ (John Rolfe) ชาวอังกฤษประสบความสำเร็จในการปลูกยาสูบเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก และ 7 ปีต่อมา ก็ได้ส่งออกผลผลิตไปยังประเทศอาณานิคมเป็นจำนวนมหาศาล อีก 200 ปีต่อมา การทำไร่ยาสูบเชิงพาณิชย์จึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วโลก(หลักสูตรโรงเรียนปลอดบุหรี่,2550)ในประเทศไทยมีการใช้ยาสูบตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีหลักฐานจากจดหมายเหตุของเมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Monsieur De La Loube’re ) อัครราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางมาเมืองไทย สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2230 ได้เขียนเล่าเรื่องประเทศสยามว่า คนไทยชอบใช้ยาสูบอย่างฉุนทั้งผู้หญิงทั้งผู้ชาย โดยได้ยาสูบมาจากเมืองมะนิลาในหมู่เกาะฟิลิปปินส์จากประเทศจีน และที่ปลูกในประเทศเอง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสิงหนาทราชดำรงฤทธิ์ได้ทรงประดิษฐ์บุหรี่ก้นป้านขึ้น เพื่อสูบควันและอมยากับหมากพร้อมกัน ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการผลิตบุหรี่ขึ้นโดยบริษัทที่มีชาวอังกฤษเป็นเจ้าของได้เปิดบริการเป็นบริษัทแรกใน พ.ศ. 2460 การผลิตบุหรี่ในระยะแรกจะมวนด้วยมือ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการนำเครื่องจักรเข้ามาจากประเทศเยอรมนี และทำการผลิตบุหรี่ออกมาจำหน่ายหลายยี่ห้อ การสูบบุหรี่จึงแพร่หลายมากขึ้น จนกระทั่งใน พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้จัดตั้งโรงงานยาสูบขึ้น โดยซื้อกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนบูรพายาสูบจำกัด (สะพานเหลือง) ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ และดำเนินกิจการอุตสาหกรรมยาสูบภายใต้การควบคุมของกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง หลังจากนั้นรัฐบาลได้ซื้อกิจการของบริษัทกวางฮก บริษัทฮอฟฟันและบริษัทบริติชอเมริกันโทรแบคโคเพิ่มขึ้น แล้วรวมกิจการภายใต้ชื่อว่า โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มาจนถึงปัจจุบัน(หลักสูตรโรงเรียนปลอดบุหรี่,2550)บุหรี่ เป็นสาเหตุของภาระโรคของคนไทยอันดับที่สาม รองจากเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยและการดื่มสุรา ดัชนีชี้วัดสภาวะสุขภาพของคนไทย พ.ศ.2549 พบว่า โรคหลอดเลือดและหัวใจเป็นโรคเรื้อรังอันดับหนึ่งของคนไทย เป็นสาเหตุการตายมากกว่าปีละ 65,000 ราย และองค์การอนามัยโลก ระบุว่าประมาณหนึ่งในสี่ของโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นผลจากการสูบบุหรี่ นั่นคือคนไทยประมาณ 16,250 คน ที่เสียชีวิตจากโรคนี้เป็นผลมาจากการสูบบุหรี่(คู่มือครูในการช่วยนักเรียนให้เลิกสูบบุหรี่,2551) เพราะบุหรี่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเกิดโรค และเป็นสาเหตุทำให้คนป่วยพิการและตายก่อนวัยอันควร ประมาณการว่าในปีหนึ่งๆ ประชากรโลกมีการตายเนื่องจากการสูบบุหรี่ประมาณ 3 ล้านคน หรือเสียชีวิตเฉลี่ย 1 คนในทุก 10 วินาที (ศุภกร บัวสาย, 2537, หน้า 36) การศึกษาทางการแพทย์ทั่วโลกพบว่าการเกิดมะเร็งส่วนต่างๆ ของร่างกาย โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคเส้นเลือดตีบ โรคถุงลมโป่งพอง และโรคหัวใจ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการสูบบุหรี่ โดยผู้สูบบุหรี่มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหล่านี้สูงมาก บุหรี่นอกจากทำลายสุขภาพแล้วยังก่อให้เกิดผลเสียทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้านเศรษฐกิจก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านผลผลิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับโรคจากการสูบบุหรี่ทั้งของผู้ที่สูบบุหรี่โดยตรงและค่าใช้จ่ายของรัฐการสูบบุหรี่เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน ซึ่งอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ การสูบบุหรี่เกิดจากความอยากรู้ อยากลอง อยากเห็น อยากเอาเยี่ยงอย่าง หรือเลียนแบบ เป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจแกโรงเรียน ครู พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้บริหารประเทศ หากปล่อยให้เยาวชนมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ซึ่งเป็นผลเสียต่อสุขภาพและการเรียนของนักเรียน จะมีผลทำให้ทรัพยากรบุคคลที่จะเป็นกำลังของชาติด้อยคุณภาพ จากผลการศึกษาวิจัยในประเทศไทยรายงานว่า การสูบบุหรี่เกิดขึ้นมากในบุคลที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น การเริ่มสูบบุหรี่สูงสุดจะอยู่ในช่วงอายุ 15- 19 ปี ถึงร้อยละ 55.2 (ประกิต เวธีสาธกกิจ และ ศุภกร บัวสาย, 2535, หน้า 7) นอกจากนั้นสำหรับงานสถิติแห่งชาติ สำรวจพฤติการณ์สูบบุหรี่ของคนไทย ปี 2539 พบว่า อัตราการสูบบุหรี่ของเยาวชนอายุประมาณ 15-19 ปีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.45 ในปี 2536 เป็นร้อยละ 18.3 ในปี 2539 และยังพบว่าประมาณร้อย 80 ของผู้ที่สูบบุหรี่เริ่มสูบบุหรี่เป็นประจำก่อนอายุ 20 ปี และในแต่ละปีจะมีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ถึง 300,000 คน เกือบทั้งหมดเป็นกลุ่มวัยรุ่น (ชูชัย ศุภวงศ์, 2541, หน้า 20) และจากการศึกษาถึงการสูบบุหรี่ของเยาวชนพบว่า เยาวชนที่ติดบุหรี่อยู่ในระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 80 (ชนวนทอง ธนสุกาญจน์, 2535, หน้า 72) การสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชนนักเรียน นอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาทางการเรียน เช่น การหนีเรียน เพื่อจะได้ไปสูบบุหรี่ ขาดสมาธิในการเรียน ผลการเรียนตกต่ำ ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมาด้วย ได้แก่ การหนีเที่ยวตามสถานเริงรมย์ถูกโรงเรียนลงโทษจนกระทั่งไล่ออก ทำให้ความสูญเปล่าทางการศึกษา และบุคลากรคือนักเรียนด้อยคุณภาพ (ไกรจักร แก้วนิล, 2536 , หน้า 9) ส่วนมากผู้ที่เริ่มติดบุหรี่เมื่ออายุน้อยจะเลิกยาก จากการศึกษาพบว่าการเริ่มต้นสูบบุหรี่เมื่อมีอายุมากแล้ว โอกาสติดจะน้อยมาก การติดบุหรี่ในวัยรุ่นยังเป็นปัจจัยเสี่ยงนำไปสู่การเสพสิ่งเสพติดชนิดร้ายแรงอื่นๆ ต่อไป (หทัย ธิตานท์, 2533, หน้า146) ในการวิจัยพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ที่สัมพันธ์กับยาเสพติดอื่นๆ ของโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่พบว่าวัยรุ่นที่ติดเหล่า ร้อยละ 62 วัยรุ่นที่ติดโคเคน และเฮโลอีน ร้อยละ 95 และวัยรุ่นที่ติดฝิ่นและกัญชาร้อยละ 75 เริ่มจากการติดบุหรี่มาก่อน นอกจากนี้ยังพบว่าวัยรุ่นที่ติดบุหรี่ก่อนอายุ 15 ปี มีโอกาสที่จะนำไปสู่การเสพติดสารอื่นๆ ได้มาก (สุวพักตร์ พนมวัน ณ อยุธยา, 2539, หน้า 71) ในสถานการณ์ปัจจุบัน หน่วยงานทั้งของรัฐบาลและเอกชนได้มีส่วนในการรณรงค์ต่อต้านการสูบุหรี่อย่างต่อเนื่องรัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการสูบบุหรี่ในกลุ่มนักเรียน จึงให้โรงเรียนดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูบุหรี่ โดยต้องกำหนดเป็นนโยบายให้โรงเรียนต่างๆ รณรงค์เรื่องการงดสูบบุหรี่ในโรงเรียน และให้โรงเรียนเป็นเขตปลอดบุหรี่อย่างมีประสิทธิภาพ (วศิษฐ์ ชุมวรฐายี, 2538, อ้างใน สุวพักตร์ พนมวัน ณ อยุธยา ,2538, หน้า 53 ) ดังข้อมูลที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าบุหรี่มีโทษมากมาย ทั้งต่อตัวผู้สูบเองและบุคคลรอบข้างทั้งนี้การที่จะทำให้เยาวชนผู้สูบบุหรี่ตระหนัก ถึงภัยอันตรายของนั้น เราต้องรู้ก่อนว่ามูลเหตุจูงใจที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่นั้นมาจากอะไร ด้วยเหตุผลนี้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษา มูลเหตุจูงใจในการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น เพื่อที่จะได้ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ทำหน้าที่แนะแนวในการหาแนวทางป้องกัน และลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นอย่างถูกหลักเกณฑ์ ชาวอินเดียนแดงซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในทวีปอมริกา ได้เริ่มต้นใช้ยาสูบเป็นพวกแรก โดยปลูกยาสูบเพื่อใช้เป็นยาและนำมาสูบในพิธีกรรมต่างๆ ในพ.ศ.2035 เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เดินเรือไปขึ้นฝั่งที่ซันซัลวาดอร์ ในหมู่เกาะเวสต์อินดีส์นั้น ได้เห็นชาวพื้นเมืองนำเอาใบไม้ชนิดหนึ่งมาม้วนและจุดไฟตอนปลายแล้วดูดควัน ต่อมา พ.ศ.2091 มีการปลูกยาสูบในบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสในทวีปอเมริกาใต้เพื่อเป็นสิค้าส่งออก เป็นผลให้ยาสูบแพร่หลายเข้าไปในประเทศโปรตุเกสและสเปนตามลำดับ ต่อมาใน พ.ศ.2103 นายฌอง นิโกต์ (Jean Nicot) เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศโปรตุเกสได้ส่งเมล็ดยาสูบมายังราชสำนักฝรั่งเศส ชื่อของนายนิโกต์จึงเป็นที่มาของชื่อสารนิโคติน (Nicotin) ที่รู้จักกันในปัจจุบัน ใน พ.ศ. 2107 เซอร์จอร์น ฮอคกินส์ (Sir John Hawkins) ได้นำยาสูบเข้าในประเทศอังกฤษ และใน พ.ศ.2155 นายจอร์น รอลฟ์ (John Rolfe) ชาวอังกฤษประสบความสำเร็จในการปลูกยาสูบเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก และ 7 ปีต่อมา ก็ได้ส่งออกผลผลิตไปยังประเทศอาณานิคมเป็นจำนวนมหาศาล อีก 200 ปีต่อมา การทำไร่ยาสูบเชิงพาณิชย์จึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วโลก(หลักสูตรโรงเรียนปลอดบุหรี่,2550)ในประเทศไทยมีการใช้ยาสูบตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีหลักฐานจากจดหมายเหตุของเมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Monsieur De La Loube’re ) อัครราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางมาเมืองไทย สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2230 ได้เขียนเล่าเรื่องประเทศสยามว่า คนไทยชอบใช้ยาสูบอย่างฉุนทั้งผู้หญิงทั้งผู้ชาย โดยได้ยาสูบมาจากเมืองมะนิลาในหมู่เกาะฟิลิปปินส์จากประเทศจีน และที่ปลูกในประเทศเอง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสิงหนาทราชดำรงฤทธิ์ได้ทรงประดิษฐ์บุหรี่ก้นป้านขึ้น เพื่อสูบควันและอมยากับหมากพร้อมกัน ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการผลิตบุหรี่ขึ้นโดยบริษัทที่มีชาวอังกฤษเป็นเจ้าของได้เปิดบริการเป็นบริษัทแรกใน พ.ศ. 2460 การผลิตบุหรี่ในระยะแรกจะมวนด้วยมือ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการนำเครื่องจักรเข้ามาจากประเทศเยอรมนี และทำการผลิตบุหรี่ออกมาจำหน่ายหลายยี่ห้อ การสูบบุหรี่จึงแพร่หลายมากขึ้น จนกระทั่งใน พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้จัดตั้งโรงงานยาสูบขึ้น โดยซื้อกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนบูรพายาสูบจำกัด (สะพานเหลือง) ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ และดำเนินกิจการอุตสาหกรรมยาสูบภายใต้การควบคุมของกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง หลังจากนั้นรัฐบาลได้ซื้อกิจการของบริษัทกวางฮก บริษัทฮอฟฟันและบริษัทบริติชอเมริกันโทรแบคโคเพิ่มขึ้น แล้วรวมกิจการภายใต้ชื่อว่า โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มาจนถึงปัจจุบัน(หลักสูตรโรงเรียนปลอดบุหรี่,2550)บุหรี่ เป็นสาเหตุของภาระโรคของคนไทยอันดับที่สาม รองจากเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยและการดื่มสุรา ดัชนีชี้วัดสภาวะสุขภาพของคนไทย พ.ศ.2549 พบว่า โรคหลอดเลือดและหัวใจเป็นโรคเรื้อรังอันดับหนึ่งของคนไทย เป็นสาเหตุการตายมากกว่าปีละ 65,000 ราย และองค์การอนามัยโลก ระบุว่าประมาณหนึ่งในสี่ของโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นผลจากการสูบบุหรี่ นั่นคือคนไทยประมาณ 16,250 คน ที่เสียชีวิตจากโรคนี้เป็นผลมาจากการสูบบุหรี่(คู่มือครูในการช่วยนักเรียนให้เลิกสูบบุหรี่,2551) เพราะบุหรี่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเกิดโรค และเป็นสาเหตุทำให้คนป่วยพิการและตายก่อนวัยอันควร ประมาณการว่าในปีหนึ่งๆ ประชากรโลกมีการตายเนื่องจากการสูบบุหรี่ประมาณ 3 ล้านคน หรือเสียชีวิตเฉลี่ย 1 คนในทุก 10 วินาที (ศุภกร บัวสาย, 2537, หน้า 36) การศึกษาทางการแพทย์ทั่วโลกพบว่าการเกิดมะเร็งส่วนต่างๆ ของร่างกาย โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคเส้นเลือดตีบ โรคถุงลมโป่งพอง และโรคหัวใจ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการสูบบุหรี่ โดยผู้สูบบุหรี่มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหล่านี้สูงมาก บุหรี่นอกจากทำลายสุขภาพแล้วยังก่อให้เกิดผลเสียทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้านเศรษฐกิจก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านผลผลิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับโรคจากการสูบบุหรี่ทั้งของผู้ที่สูบบุหรี่โดยตรงและค่าใช้จ่ายของรัฐการสูบบุหรี่เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน ซึ่งอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ การสูบบุหรี่เกิดจากความอยากรู้ อยากลอง อยากเห็น อยากเอาเยี่ยงอย่าง หรือเลียนแบบ เป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจแกโรงเรียน ครู พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้บริหารประเทศ หากปล่อยให้เยาวชนมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ซึ่งเป็นผลเสียต่อสุขภาพและการเรียนของนักเรียน จะมีผลทำให้ทรัพยากรบุคคลที่จะเป็นกำลังของชาติด้อยคุณภาพ จากผลการศึกษาวิจัยในประเทศไทยรายงานว่า การสูบบุหรี่เกิดขึ้นมากในบุคลที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น การเริ่มสูบบุหรี่สูงสุดจะอยู่ในช่วงอายุ 15- 19 ปี ถึงร้อยละ 55.2 (ประกิต เวธีสาธกกิจ และ ศุภกร บัวสาย, 2535, หน้า 7) นอกจากนั้นสำหรับงานสถิติแห่งชาติ สำรวจพฤติการณ์สูบบุหรี่ของคนไทย ปี 2539 พบว่า อัตราการสูบบุหรี่ของเยาวชนอายุประมาณ 15-19 ปีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.45 ในปี 2536 เป็นร้อยละ 18.3 ในปี 2539 และยังพบว่าประมาณร้อย 80 ของผู้ที่สูบบุหรี่เริ่มสูบบุหรี่เป็นประจำก่อนอายุ 20 ปี และในแต่ละปีจะมีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ถึง 300,000 คน เกือบทั้งหมดเป็นกลุ่มวัยรุ่น (ชูชัย ศุภวงศ์, 2541, หน้า 20) และจากการศึกษาถึงการสูบบุหรี่ของเยาวชนพบว่า เยาวชนที่ติดบุหรี่อยู่ในระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 80 (ชนวนทอง ธนสุกาญจน์, 2535, หน้า 72) การสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชนนักเรียน นอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาทางการเรียน เช่น การหนีเรียน เพื่อจะได้ไปสูบบุหรี่ ขาดสมาธิในการเรียน ผลการเรียนตกต่ำ ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมาด้วย ได้แก่ การหนีเที่ยวตามสถานเริงรมย์ถูกโรงเรียนลงโทษจนกระทั่งไล่ออก ทำให้ความสูญเปล่าทางการศึกษา และบุคลากรคือนักเรียนด้อยคุณภาพ (ไกรจักร แก้วนิล, 2536 , หน้า 9) ส่วนมากผู้ที่เริ่มติดบุหรี่เมื่ออายุน้อยจะเลิกยาก จากการศึกษาพบว่าการเริ่มต้นสูบบุหรี่เมื่อมีอายุมากแล้ว โอกาสติดจะน้อยมาก การติดบุหรี่ในวัยรุ่นยังเป็นปัจจัยเสี่ยงนำไปสู่การเสพสิ่งเสพติดชนิดร้ายแรงอื่นๆ ต่อไป (หทัย ธิตานท์, 2533, หน้า146) ในการวิจัยพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ที่สัมพันธ์กับยาเสพติดอื่นๆ ของโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่พบว่าวัยรุ่นที่ติดเหล่า ร้อยละ 62 วัยรุ่นที่ติดโคเคน และเฮโลอีน ร้อยละ 95 และวัยรุ่นที่ติดฝิ่นและกัญชาร้อยละ 75 เริ่มจากการติดบุหรี่มาก่อน นอกจากนี้ยังพบว่าวัยรุ่นที่ติดบุหรี่ก่อนอายุ 15 ปี มีโอกาสที่จะนำไปสู่การเสพติดสารอื่นๆ ได้มาก (สุวพักตร์ พนมวัน ณ อยุธยา, 2539, หน้า 71) ในสถานการณ์ปัจจุบัน หน่วยงานทั้งของรัฐบาลและเอกชนได้มีส่วนในการรณรงค์ต่อต้านการสูบุหรี่อย่างต่อเนื่องรัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการสูบบุหรี่ในกลุ่มนักเรียน จึงให้โรงเรียนดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูบุหรี่ โดยต้องกำหนดเป็นนโยบายให้โรงเรียนต่างๆ รณรงค์เรื่องการงดสูบบุหรี่ในโรงเรียน และให้โรงเรียนเป็นเขตปลอดบุหรี่อย่างมีประสิทธิภาพ (วศิษฐ์ ชุมวรฐายี, 2538, อ้างใน สุวพักตร์ พนมวัน ณ อยุธยา ,2538, หน้า 53 ) ดังข้อมูลที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าบุหรี่มีโทษมากมาย ทั้งต่อตัวผู้สูบเองและบุคคลรอบข้างทั้งนี้การที่จะทำให้เยาวชนผู้สูบบุหรี่ตระหนัก ถึงภัยอันตรายของนั้น เราต้องรู้ก่อนว่ามูลเหตุจูงใจที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่นั้นมาจากอะไร ด้วยเหตุผลนี้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษา มูลเหตุจูงใจในการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น เพื่อที่จะได้ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ทำหน้าที่แนะแนวในการหาแนวทางป้องกัน และลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นอย่างถูกหลักเกณฑ์
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    การศึกษาในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ1.สำรวจมูลเหตุจูงใจในการสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนราษฎร์บำรุง จังหวัดพิจิตร2.ศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนราษฎร์บำรุง จังหวัดพิจิตร
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่สูบบุหรี่ ของโรงเรียนราษฎร์บำรุง จังหวัดพิจิตร จำนวน 56 คนขอบเขตเนื้อหาการศึกษาครั้งนี้มุ่งสำรวจมูลเหตุจูงใจ และพฤติกรรมในการสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนราษฎร์บำรุง จังหวัดพิจิตร ครอบคลุมปัจจัยเชิงจิตวิทยา ปัจจัยเชิงสังคม และสิ่งแวดล้อมขอบเขตเวลาช่วงเวลาการการสำรวจระหว่างเดือน ธันวาคม 2554
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    -
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : -
    บทคัดย่อ
   

การวิจัย เรื่อง มูลเหตุจูงใจในการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนราษฎร์บำรุง จังหวัดพิจิตร มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยสำรวจมูลเหตุจูงใจในการสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนราษฎร์บำรุง จังหวัดพิจิตรและศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนราษฎร์บำรุง จังหวัดพิจิตร ดำเนินการเก็บรวบรมข้อมูลกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่สูบบุหรี่ ของโรงเรียนราษฎร์บำรุง จังหวัดพิจิตร จำนวน 56 คน ผลการวิจัยพบว่า

นักเรียนที่สูบบุหรี่ ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 18-19 ปี อาศัยอยู่กับบิดา-มารดา โดยเป็นบ้านส่วนตัว และบิดามารดาทำอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้ต่อเดือนอยู่ 5,000 บาท/เดือน ค่าใช้จ่ายต่อวันที่นักเรียนได้รับส่วนใหญ่อยู่ที่ 51-100 บาท ในครอบครัวของนักเรียนมีคนสูบบุหรี่ กิจกรรมที่นักเรียนทำในเวลาว่าง คือ การฟังเพลง การดูโทรทัศน์ สถานที่พักผ่อนที่นักเรียนชอบไปที่สุดคือ สวนสาธารณะ บางส่วนจะชอบไปห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร และโรงภาพยนตร์ จะมีส่วนน้อยที่จะไปพักผ่อนที่สถานที่ท่องเที่ยว 2.มูลเหตุในการสูบบุหรี่ของนักเรียน คือ ปัจจัยเพราะอย่างทดลองสูบ เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพื่อความโก๋เก๋ เพื่อคลายความเครียด เพื่อคลายความวิตกกังวล เพราะผิดหวังในความรัก เพราะผิดหวังในการเรียน เพื่อแก้ความเขินอายและทำให้หายประหม่า ปัจจัยเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียนมากที่สุด อยู่ในระดับมากที่สุดมี 3 ปัจจัย คือสูบตามนักแสดง สูบเพราะต้องการความยอมรับจากเพื่อนขณะเข้ากลุ่ม และเพราะต้องการการยอมรับว่าเป็นผู้ใหญ่ ปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียนในระดับมาก คือ เพราะเพื่อนชวนให้สูบ สูบตามผู้ใหญ่ สูบตามอาจารย์ เลียนแบบจากสื่อโฆษณา เลียนแบบดารานักร้อง สูบเพื่อเข้าสังคมกับเพื่อนที่สูบบุหรี่ ส่วนที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียน/นักศึกษาในระดับปานกลาง คือ สูบตามบุคคลในครอบครัว และสูบตามพี่น้อง 3.พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียน เริ่มสูบบุหรี่ในช่วงอายุ 10-13 ปี จำนวนบุหรี่ที่นักเรียนสูบมากที่สุดต่อวันคือ 5-10 มวนต่อวัน และชนิดของบุหรี่ที่นักเรียนส่วนใหญ่นิยมสูบคือบุหรี่ในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 83.93 ช่วงเวลาในการสูบบุหรี่ คือก่อนเข้าเรียน สถานที่ในโรงเรียนที่นักเรียน คือในโรงอาหาร รองลงมาคือ ทุกที่ที่ไม่มีใครเห็น นักเรียน ที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ เคยขอคำปรึกษาเกี่ยวกับบุหรี่คิดเป็นร้อยละ 58.93 โดยขอรับคำปรึกษาเรื่องการสูบบุหรี่จากเพื่อน

 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน :
ปีการศึกษา : 2554
ปีงบประมาณ : 2555
วันที่เริ่ม : 21 ก.ย. 2554    วันที่แล้วเสร็จ : 21 ธ.ค. 2554
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 0.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 0.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48