หน่วยงาน :
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี |
ประเภทผลงาน :
โครงการวิจัย |
ชื่อผลงาน: รูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ |
|
เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย |
|
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ |
ชื่อผู้ทำวิจัย |
สถานะการทำวิจัย |
สัดส่วน |
|
กลุ่มสาขาวิชาการ |
: |
กลุ่มวิจัยและบริการวิชาการ |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : การสูงวัยของประชากรเป็นประเด็นสำคัญ ที่ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากในขณะปัจจุบันนี้ เนื่องด้วยองค์การสหประชาชาติ ได้แสดงสัดส่วนผู้สูงอายุ ของประชากรโลกไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.7 ในปี พ.ศ.2528 เป็น ร้อยละ 9.5 ในปี พ.ศ.2568 เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอายุของประชากร กล่าวคือ ประชากรสูงอายุ จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ประชากรมีอายุขัยยืนยาวขึ้น ในขณะที่ประชากรวัยเด็กจะลดลงเนื่องจากความสำเร็จใน การคุมกำเนิด วางแผนครอบครัว และประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จ ในการดำเนินงานนโยบายประชากร เพื่อลดภาวะเจริญพันธุ์อย่างต่อเนื่อง เป็นสาเหตุสำคัญที่มีผล ต่อ การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางอายุของประชากร โดยขนาดและสัดส่วนของประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ได้เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง คือ จาก 1.2 ล้านคนในปี พ.ศ.2503 เป็นประมาณกว่า 3 ล้านคนในปี พ.ศ.2530 หรือจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 6 ในช่วงเกือบ 3 ทศวรรษ โดยคาดประมาณว่า จะเพิ่มเป็นร้อยละ 13.1 ในปี พ.ศ.2563(กระทรวงสาธารณสุข.2547) ทั้งนี้เนื่องจากอายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด ของคนไทยเพิ่มขึ้น โดยคาดประมาณว่า อายุขัยเฉลี่ยของชาย และหญิงไทย จะเพิ่มเป็น 69.50 ปี และ 73.58 ปี ตามลำดับ ในปี พ.ศ.2553-2568 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : 2535) การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ ทั้งในเชิงปริมาณ และสัดส่วนในโครงสร้างทางอายุของประชากรไทย ย่อมส่งผลกระทบ ต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคม และแบบแผนปัญหาสาธารณสุขโดยรวมของประเทศ การที่อายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น ไม่ได้หมายความว่า ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพดีขึ้นตามไปด้วย จากผลการศึกษาของ Jitapunkul, S., Kamolratanakul, P., and Ebrahim, S. : 1994 และ Phanthumchinda, K., Jitapunkul, S., Sitthiamorn, J., Bunnag, S., and Ebrahim, S.: 1991 (อ้างอิงจาก อำนวย กาจีนะ และ จินตนา ศรีวงษา :2549) พบว่า ประชากรสูงอายุมีอัตราการเจ็บป่วย และภาวะทุพพลภาพเพิ่มขึ้น สัดส่วนของผู้ป่วยสูงอายุในแผนกอายุรศาสตร์ ในโรงพยาบาลของรัฐ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป มีระยะเวลาครองเตียงของผู้ป่วยทั้งหมด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล(บิสิเนสไทย :2550) ระบุชัดเจนว่า ประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 6,070.6 ล้านคนในปี พ.ศ. 2543 เป็น 6,453.6 ล้านคนในปี พ.ศ. 2548 และอาจจะเพิ่มเป็น 7,851.4 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2568 ในขณะที่ประชากรไทยก็มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันจาก 62.2 ล้านคนในปี พ.ศ.2543 เป็น 64 ล้านคนในปี พ.ศ.2548 และเพิ่มเป็น 72.3 ล้านคนในปี พ.ศ.2568 จะเห็นได้ว่าโครงสร้างของประชากรโลกและประชากรไทยมีการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายคลึงกันโดยที่ประชากรโลกในกลุ่มของวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราการเพิ่มในสัดส่วนที่สูงอย่างน่าเป็นห่วง จาก ร้อยละ 9.13 ในปี 2543 เป็น ร้อยละ 15.0 ในปี 2568 เช่นเดียวกับกลุ่มอายุ 15-59 ปี ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60.8 ในขณะที่ประชากรกลุ่มวัยเด็ก (อายุแรกเกิด - 14 ปี มีจำนวนลดลงจากสัดส่วน ร้อยละ 30.1 ในปี พ.ศ.2543 เหลือ ร้อยละ 24.2 ในปี พ.ศ.2568 ซึ่งแสดงแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างของประชากรกำลังเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างประชากรวัยเด็กในอดีตที่เป็นประชากรวัยสูงอายุหรือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต
สำหรับในประเทศไทยนั้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีการลดลงของอัตราการเกิดและอัตราการตายทำให้ ภาวะประชากรสูงอายุ ในประเทศไทยสูงขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของประชากรสูงอายุนี้ ทำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรต่างๆ ทั้งในด้านสังคมและสุขภาพสหประชาชาติแจ้งข้อมูลผู้สูงอายุในไทยว่าจะมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นทุกปี เฉลี่ย 2 แสนคนต่อปี โดยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 70 ปี และจากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุขององค์การสหประชาชาติระบุว่า อีก 150 ปี 1 ใน 3 ของพลเมืองโลกจะเป็นผู้สูงอายุ และอีก 20 ปี ผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น 1 คน จากพลเมืองทุก 8 คน สำหรับประเทศไทยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 14 ในเวลา 30 ปี เนื่องจากโครงสร้างประชากรของประเทศไทยในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายด้าน ที่สำคัญ คือ วงการแพทย์และสาธารณสุขที่มีการเจริญรุดหน้า ทำให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง และเสียชีวิตช้าลง ส่งผลสำคัญให้มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้มีอัตราการเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย มีการปรับเปลี่ยนระบบจากการผลิตภาคเกษตรไปเป็นอุตสาหกรรม มีผลทำให้ครอบครัวไทยเปลี่ยนจากครอบครัวขยายไปสู่ระบบครอบครัวเดี่ยว ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกภายในครอบครัวลดลง จำนวนผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลง มีเวลาให้ผู้สูงอายุลดลง ขาดการให้ความรักและความอบอุ่น ผู้สูงอายุจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว ดำเนินชีวิตตามลำพัง จากสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องการสังคมในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ ความเครียด คับข้องใจ แยกตนเองออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว ประกอบกับผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ภาวะสุขภาพเสื่อมลงมีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจผู้สูงอายุและหากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้ว จะยิ่งผลเสริมให้ผู้สูงอายุหว้าเหว่ มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงได้ (ปาริชาติ คำชู, 2551) เป็นทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุ่นแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่พบบ่อยในชุนทั้งในเขตเมือง และชนบท ขนาดของปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชปัจจุบันได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆประมาณการจาก WHO (World Health Organization)ว่าภายในปี 2563 ภาวการณ์เจ็บป่วยทางจิตคิดเป็นร้อยละ 11 ของการเจ็บป่วยทุกโรครวมกัน (Burden of Diseases) โรคซึมเศร้าจะเป็นปัญหาอันดับ 2 ของคนทั่วโลก รองจากโรคหัวใจขาดเลือด ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก ประมาณร้อยละ 10 ของคนไทยที่ป่วยเป็นโรคนี้ และจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ทำให้สภาพครอบครัวในชนบท เกิดการเปลี่ยนแปลง มีการเคลื่อนย้ายของประชากรวัยแรงงาน เข้าสู่ตัวเมือง เพื่อการประกอบอาชีพ ทำให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตอย่างโดดเดี่ยว เผชิญปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ยังเป็นปัจจัยทางจิตสังคม ที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า ดังนั้น อัตราการเป็นโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ในชนบท จะสูงกว่าในเขตเมือง ความสำคัญของโรคซึมเศร้านั้นไม่รุนแรงและมีลักษณะคล้ายโรคทางกาย เช่น เบื่ออาหาร น้ำนักลด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ขาดสมาธิ และมักจะนอนไม่หลับ ซึ่งบางครั้งตัวผู้ป่วยได้ไปรับบริการแล้วได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เพราะบางครั้งแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมักคิดว่าเป็นอาการของโรคทางกาย หรือบางครั้งตัวผู้ป่วยปล่อยปละละเลยไม่ยอมไปรับบริการตรวจรักษา จนอาการของโรคนั้นมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพจิตและพฤติกรรม ซึ่งผลร้ายของโรคซึมเศร้าอย่างหนึ่งก็คือทำให้ประสิทธิภาพในด้านการเรียนการทำงานของผู้ป่วยลดลง ทำให้สัมพันธภาพกับผู้อื่นไม่ดี และนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด ซึ่งเรามักได้พบเห็นจากข่าวในหนังสือพิมพ์กันเป็นประจำและ จากการวิจัย(สมภพ เรืองตระกูล, 2543) พบว่าร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคซึ่งเศร้าจะฆ่าตัวตายสำเร็จ อีกทั้งกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชาการที่มีปัญหาทางสุขภาพอันเนื่องมาจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลง หลายคนมีปัญหาเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เนื่องมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ร่างกายเสื่อมถอยไปตามวัย รวมไปถึงโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ สภาพทางอารมณ์และจิตใจย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย หากผู้สูงอายุคนใดมีการปรับตัว และจิตใจที่ดีพร้อมรับสภาพที่เกิดขึ้นไปตามวัย มีญาติพี่น้องคอยดูแลช่วยเหลือให้กำลังใจย่อมมีผลต่อภาวะสุขภาพจิตที่ไม่มากนัก หากกลุ่มผู้สูงอายุคนใด มีการปรับตัวที่ไม่เหมาะสม ขาดการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวอาจนำไปสู่การมีภาวะสุขภาพจิตและพฤติกรรมที่ไม่ดี ย่อมจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ อาจทำให้มีการสูญเสียตามมาภายหลังได้ ดังนั้นภาวะสุขภาพจิตของกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่จะส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขไม่รู้สึกว้าเหว่หรือเงียบเหงา ผู้ที่ไม่สามารถปรับตัว ปรับใจต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ได้ จึงมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าบุคคลวัยอื่นๆ และพบว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 30 เคยมีประสบการณ์ของการมีภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ซึ่งส่งผลต่อสุขภาวะของผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม บุคคลทั่วไปมักเข้าใจว่าภาวะซึมเศร้าเป็นเรื่องธรรมดาของผู้สูงอายุ จึงมักละเลย ไม่สนใจ ทำให้ผู้สูงอายุยิ่งมีความทุกข์ทรมานมากขึ้น แต่ในความเป็นจริง ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันมิให้เกิดได้ หากผู้สูงอายุได้มีการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจก่อนที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุ หรือทราบแนวทางที่สำคัญในการหลีกเลี่ยงหรือป้องกัน รวมทั้งทราบแนวทางการดูแลตนเองเมื่อตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวจะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณค่า มีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยมีความสนใจภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุในชนบทว่ามีรูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะซึมเศร้าเป็นรูปแบบใด และมีลักษณะเป็นอย่างใดในผู้สูงอายุที่มีวิถีของชีวิตอยู่ในชนบทของไทยไทย เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา แก่ประชาชนที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุ เพื่อให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติงานกับผู้สูงอายุต่อไป |
|
|
|
วัตถุประสงค์ของโครงการ |
|
|
1. เพื่อศึกษาสภาพของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชนบท
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชนบท
3. เพื่อศึกษารูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุชนบท |
ขอบเขตของโครงการผลงาน |
|
|
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพและปัจจัยที่เป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชนบท
ระยะที่ 2 ศึกษารูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชนบท
โดยในแต่ละระยะมีขอบเขตการวิจัย ดังนี้
ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพและปัจจัยที่เป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชนบท มีการกำหนดขอบเขตการวิจัย ดังนี้
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพและปัจจัยที่เป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชนบท คือ ผู้สูงอายุที่มีภูมิลำเนา และวิถีชีวิตอยู่ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี(สานักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี : 2554) รวมทั้งสิ้น 136,946 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพและปัจจัยที่เป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชนบท คือ ผู้สูงอายุที่มีภูมิลำเนาและวิถีชีวิตอยู่ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีประมาณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ ตาราง Krejcie และ Morgan (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543 : 303) ได้จำนวน 384 ได้มาโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน (Multistage sampling) ดังนี้
ขั้นที่ 1 การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling ) โดยสุมเลือกตำบลจากอำเภอในจังหวัดสุพรรณบุรี ทั้ง 10 อำเภอ อำเภอละ 1 ตำบล หลังจากนั้นกำหนดจำนวนผู้สูงอายุในแต่ละตำบลด้วยการหาสัดส่วยอย่างง่าย
ขั้นที่ 2 การสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ด้วยวิธีการจับฉลากเลือกผู้สูงอายุในแต่ละตำบลตามจำนวนของผู้สูงอายุในแต่ละตำบลที่ได้จากการสุ่มในขั้นที่ 1 (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543 : 303)
ระยะที่ 2 เพื่อศึกษารูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชนบท
การดำเนินการวิจัยระยะที่ 2 เพื่อศึกษารูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชนบท โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis : CFA) และโมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น (Linear Structure Relationship : LISREL Model) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
|
|
- |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา |
|
: |
- |
บทคัดย่อ |
|
|
- |
|
|
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ |
ปี พ.ศ |
คะแนน |
วันที่เผยแพร่ |
โหลด |
|
การเผยแพร่บทความวิชาการ |
ปี พ.ศ |
คะแนน |
วันที่เผยแพร่ |
โหลด |
|
|
บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ
ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก |
ปีปฏิทิน |
: |
2556 |
ปีการศึกษา |
: |
2556 |
ปีงบประมาณ |
: |
2556 |
วันที่เริ่ม |
: |
14 มิ.ย. 2556 วันที่แล้วเสร็จ :
1 ก.ย. 2557 |
แหล่งเงินทุน |
|
|
ชื่อแฟ้มข้อมูล |
ขนาดแฟ้มข้อมูล |
จำนวนเข้าถึง |
วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด |
Download |
ทั้งหมด 0 รายการ |
|