เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
เข้าระบบ
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
หน้าหลัก
»
รายละเอียด
‹ ย้อนกลับ
หน่วยงาน : วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน :
โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน:
การสำรวจพฤติกรรมและการควบคุมการบริโภคยาสูบ กลุ่มนักศึกษาสาธารณสุข สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย
สถานะการทำวิจัย
สัดส่วน
กลุ่มสาขาวิชาการ
:
กลุ่มวิจัยและบริการวิชาการ
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
บุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญ ของการสูญเสียชีวิตและการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ของประชากรโลก จากการสูบบุหรี่ว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก ๔.๙ ล้านคน ในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็น ๑๐ ล้านคน ในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ และจากการรายงานดังกล่าวพบว่าประชากรโลกเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ ๔ ล้านคน อีกทั้งมีการคาดประมาณว่าในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า จะมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ถึงปีละ ๑๐ ล้านคน โดยร้อยละ ๗๐ ของผู้เสียชีวิตจะเป็นประชากรจากประเทศกำลังพัฒนา๑ องค์การอนามัยโลก (WHO) และศูนย์ควบคุมโรคที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC) เริ่มโครงการเฝ้าระวังเกี่ยวกับยาสูบทั่วโลก ตั้งแต่ปีค.ศ. ๑๙๙๙ ด้วยการพัฒนาการสำรวจเยาวชนกับยาสูบ (Global Youth Tobacco Survey - GYTS) และขยายโครงการในปี ค.ศ. ๒๐๐๐ ด้วยการพัฒนาโครงการสำรวจบุคลากรในโรงเรียน (Global School Personnel Survey - GSPS) และ การสำรวจบุคลากรในวิชาชีพสุขภาพต่างๆ
โครงการสำรวจบุคลากรในวิชาชีพสุขภาพต่างๆ (Global Health Professionals Survey - GHPS) เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ต่อเนื่องจากโครงการ GYTS (Global Youth Tobacco Survey และ GSPS (Global School Personnel Survey) ซึ่งใช้แบบสอบถามที่พัฒนาโดย The World Health Organization(WHO), Centre for Disease Control and Prevention (CDC), Atlanta, and the Canadian Public Health Association (CPHA) ซึ่งความเป็นมาของโครงการในช่วงแรกได้เก็บข้อมูลกับผู้ประกอบวิชาชีพ ในประเทศ อินเดีย และพม่า ซึ่งพบว่าข้อมูลที่ได้ไม่มีคุณภาพเพียงพอ และ เนื่องจากมีปัจจัยหลากหลายที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น ลักษณะการประกอบอาชีพ การมีสภาหรือองค์กรวิชาชีพที่มีรายชื่อสมาชิก เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถเลือกระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ได้เหมือนกันทั่วโลก จากข้อจำกัดดังกล่าว ดังนั้นการดำเนินการโครงการ GHPS จึงเก็บข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาแทน ซึ่งได้ดำเนินการโครงการ GHPS นำร่องเพื่อทดสอบแบบสอบถามใน ๑๐ ประเทศทั่วทั้งหกภาคพื้นขององค์การอนามัยโลก โดยเก็บข้อมูลจากนักศึกษาชั้นปีที่ ๓ ของ ๔ สาขาวิชาชีพคือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และ เภสัชกร ซึ่งผลการศึกษานำร่องนี้พบว่า มีการเสพติดยาสูบสูงถึง ประมาณ ร้อยละ ๑๘.๑-๔๗.๑ และการมีการเรียนการสอนเรื่องการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่อยู่ในระดับต่ำและแตกต่างกันในแต่ละประเทศ๒
สำหรับประเทศไทยนั้นได้เคยมีการทำสำรวจกับกลุ่มแพทย์ ทันตแพทย์และวิชาชีพอื่นๆ ในปี ค.ศ.๑๙๘๙ ซึ่งพบว่า แพทย์และทันตแพทย์มีการสูบบุหรี่ ร้อยละ ๑๗.๑ และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ สูบบุหรี่ ร้อยละ ๑๑.๔๓ อย่างไรก็ตามการสำรวจบุคลากรในวิชาชีพสุภาพแขนงต่างๆ นี้ได้ทำโดยแบบสอบถามและวิธีการที่คณะผู้วิจัยแต่ละคนหรือแต่ละคณะได้คิดจัดทำขึ้นเอง ผลของการสำรวจเหล่านี้จึงมีประโยชน์น้อยและไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับนานาชาติอย่างการดำเนินการสำรวจโดยใช้ protocol ของ CDC/ องค์การอนามัยโลกได้
The WHO Framework Convention on Tobacco Control (FCTC) ๔ ได้มีมติสนับสนุนให้มีการศึกษาเช่นเดียวกันนี้ในประเทศที่เป็นสมาชิกของ WHO ทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทยเอง ได้มีการสนับสนุนให้จัดทำการศึกษาในนักศึกษา ๗ สาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัดและ สาธารณสุข ซึ่งการศึกษานี้จะมุ่งเน้นในส่วนของวิชาชีพสาธารณสุข ซึ่งเป็นวิชาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการควบคุมการบริโภคยาสูบในปัจจุบันประเทศไทยมีคณะสาธารณสุขศาสตร์ทั้งในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนซึ่งผลิตบุคลากรสาธารณสุขออกมาเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของประเทศ
จากข้อมูลการสำรวจบุคลากรในวิชาชีพสุขภาพต่างๆ (Global Health Professionals Survey - GHPS)ในปี ๒๕๔๘-๒๕๔๙ ของศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ เรื่องการสำรวจวิชาชีพสุขภาพระดับโลก ที่มุ่งเน้นการเฝ้าระวังในวิชาชีพด้านสุขภาพในประเทศไทยซึ่งวิชาชีพที่มีบทบาทสำคัญในระบบสุขภาพทั้งหมด ๗ วิชาชีพ พบว่านักศึกษาวิชาชีพสาธารณสุข มีอัตราการสูบบุหรี่อย่างน้อย ๑ ครั้งสูงสุดร้อยละ ๔๗.๗ มากที่สุดในวิชาชีพในระบบสุขภาพ อีกทั้งพบว่าเรื่องนโยบายของคณะ/วิทยาลัยเกี่ยวกับมาตรการการควบคุมการบริโภคยาสูบ ส่วนใหญ่มีการดำเนินงานแต่ไม่ทั้งหมด และถึงแม้จะมีนโยบายและการบังคับใช้นโยบายยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งพบว่าการดำเนินงานของคณะ/วิทยาลัยเกี่ยวกับมาตรการการควบคุมการบริโภคยาสูบยังไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้อาคารมหาวิทยาลัย วิทยาลัยและสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ สำหรับด้านหลักสูตร/การฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริโภคยาสูบพบว่า เนื้อหาการเรียนการสอนยังไม่เพียงพอในเรื่องการนำไปใช้กับผู้รับบริการในเรื่อง ความสำคัญในเรื่องการบันทึกประวัติการสูบบุหรี่ การให้เอกสารความรู้เพื่อการเลิกสูบบุหรี่แก่ผู้มารับบริการ วิธีการเลิกสูบบุหรี่และผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการเลิกสูบบุหรี่ และยังไม่ตอบสนองต่อกับความต้องการของนักศึกษา ที่เห็นว่านักสาธารณสุขควรให้คำแนะนำรวมทั้งให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ป่วย/ผู้รับบริการที่สูบบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่ และควรได้รับการฝึกอบรมเป็นพิเศษเกี่ยวกับเทคนิคในการบริการเลิกสูบบุหรี่ ๕ ดังนั้น บุคลากรและนักศึกษาด้านการสาธารณสุขจึงควรมีความรู้ความสามารถและเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างเสริมสุขภาพเรื่องบุหรี่แก่ผู้มารับบริการ โดยควรมีการจัดอบรมเนื้อหาเกี่ยวกับบุหรี่กับสุขภาพ รวมทั้งการส่งเสริมการไม่สูบบุหรี่และการช่วยเหลือผู้ต้องการเลิกสูบบุหรี่สำหรับบุคลากร และมีการให้ความรู้แก่นักศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตรตามความเหมาะสม การสร้างเสริมสุขภาพเรื่องบุหรี่ นอกจากจะมุ่งเน้นให้ความรู้ และการฝึกปฏิบัติในการช่วยให้คนเลิกบุหรี่แล้ว สถานศึกษาควรเป็นตัวอย่างในเรื่องการจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดบุหรี่ โดยมีนโยบายสถานศึกษาปลอดบุหรี่ให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ของคนไทยด้วย๖
ในปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุข มีวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก อันได้แก่วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร และวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จำนวน ๘ สถาบัน ที่มุ่งผลิตบัณฑิตทางสาธารณสุข ที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการระบบบริการสุขภาพออกมาเป็นกำลังสำคัญกับประเทศ โดยนักศึกษาเหล่านี้เป็นกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในระบบสุขภาพและการควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศ รวมทั้งปฏิบัติงานในชุมชนและใกล้ชิดกับประชาชน อีกทั้งในอนาคตอันใกล้จะเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนช่วยในการควบคุมการบริโภคยาสูบ รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่และส่งเสริมการไม่สูบบุหรี่ในผู้ป่วย ตลอดจนผู้ใช้บริการสุขภาพ จากความเป็นมาเบื้องต้น จึงควรดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจบุคลากรในวิชาชีพสาธารณสุข โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มนักศึกษาด้านการสาธารณสุข ของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ทราบสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบตามประเด็นต่างๆที่กล่าวมาแล้ว และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้การดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องต่อไป
ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ ของนักศึกษาตลอดจนนโยบายและหลักสูตรของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร และวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบในครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้นักศึกษาในสถาบันการศึกษาสาธารณสุขให้ร่วมเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนช่วยในการควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศให้มีความเข็มแข็งและประสบความสำเร็จมากขึ้น
วัตถุประสงค์ของโครงการ
วัตถุประสงค์ทั่วไป
๑. เพื่อสำรวจนักศึกษาวิชาชีพสาธารณสุข วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
กระทรวงสาธารณสุข ในประเด็นเรื่องอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ ทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ การได้รับควันบุหรี่มือสอง ทัศนคติเกี่ยวกับยาสูบ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่ หลักสูตร /การฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับการสอนถึงโทษภัยของบุหรี่ รวมถึงการช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการเลิกสูบบุหรี่ตลอดจนนโยบายและหลักสูตรของสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ
๒. เพื่อเปรียบเทียบผลการศึกษากับนักศึกษาวิชาชีพอื่นๆ
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อศึกษา
๑. พฤติกรรมการบริโภคยาสูบของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร และวิทยาลัย
เทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ทั้งในพฤติกรรมการลองบริโภคยาสูบ พฤติกรรมการบริโภคยาสูบในปัจจุบัน และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ที่สูบบุหรี่ในปัจจุบัน
๒. การได้รับควันบุหรี่ของนักศึกษาในสถาบันการศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
และวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
๓. นโยบายวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร และวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และ
สาธารณสุข ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ
๔. ทัศนคติเกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิริน
ธร และวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
๕. หลักสูตรของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร และวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และ
สาธารณสุข ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ
ขอบเขตของโครงการผลงาน
วิจัยเชิงสำรวจแบบ Cross-Sectional Survey Study โดยเก็บข้อมูลในห้องเรียน (Classroom Survey) ด้วยแบบสอบถามให้ตอบด้วยตนเอง (Self-administered questionnaire) ซึ่งสร้างและพัฒนาจากความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลก (WHO) และศูนย์ควบคุมโรคประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC) และเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในประเทศต่างๆทั่วโลกที่เข้าร่วมในโครงการวิจัย GHPS
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. นำไปพัฒนาหลักสูตรและการฝึกอบรม / จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับบุหรี่
สามารถนำไปพัฒนากิจกรรม / โครงการที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบ
๒. พัฒนาและพลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบสำหรับนักศึกษาสาธารณสุข
๓. เพื่อให้สหสาขาวิชาชีพสุขภาพต่างๆเข้ามาร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการควบคุมการบริโภคยาสูบอย่างมีประสิทธิผล
๔. นำมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการชี้นำ (Advocacy) ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
:
-
บทคัดย่อ
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ
ปี พ.ศ
คะแนน
วันที่เผยแพร่
โหลด
การเผยแพร่บทความวิชาการ
ปี พ.ศ
คะแนน
วันที่เผยแพร่
โหลด
บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ
ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน
:
2556
ปีการศึกษา
:
2556
ปีงบประมาณ
:
2556
วันที่เริ่ม
:
10 พ.ค. 2556
วันที่แล้วเสร็จ :
1 ก.ย. 2557
แหล่งเงินทุน
ภายใน
จำนวนเงิน 65,037.00 บาท
ภายนอก
จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน
65,037.00 บาท
ชื่อแฟ้มข้อมูล
ขนาดแฟ้มข้อมูล
จำนวนเข้าถึง
วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด
Download
ทั้งหมด
0
รายการ
Copyright
©
Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009 All rights reserved
: Version 7.6.48