หน่วยงาน :
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี |
ประเภทผลงาน :
โครงการวิจัย |
ชื่อผลงาน: แบบจำลองเชิงสาเหตุของสมรรถนะการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิของไทย |
|
เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย |
|
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ |
ชื่อผู้ทำวิจัย |
สถานะการทำวิจัย |
สัดส่วน |
|
กลุ่มสาขาวิชาการ |
: |
กลุ่มวิจัยและบริการวิชาการ |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมดจำนวน 65 ล้านคน พบว่าเป็นประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานถึง 38.7 ล้านคน (ร้อยละ 59.5) ซึ่งแบ่งออกเป็นแรงงานในระบบจำนวน 14.4 ล้านคน (ร้อยละ 37.7) และแรงงานนอกระบบ 24.3 ล้านคน (ร้อยละ 62.3) 1,2,3,4 ปัจจุบันจำนวนของแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแรงงานเหล่านี้ถือเป็นประชากรที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย 5 แต่พบว่าประชากรวัยแรงงานกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบหรือเผชิญความเสี่ยงต่อการการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน โรคที่เกิดจากการทำงาน(Occupational Diseases) และโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (Work-related diseases) 6,7,8 ดังนั้นการป้องกันและควบคุมโรคที่เกี่ยวข้องกับงานจึงถือเป็นบทบาทหนึ่งของการบริการอาชีวอนามัย
การบริการอาชีวอนามัยของประเทศไทยกำลังอยู่ในขั้นการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 วิกฤตดังกล่าวส่งผลให้เกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจและอัตราการจ้างงานที่ลดลง ทำให้มีธุรกิจขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น แต่ในปัจจุบันพบว่ามีการบริการอาชีวอนามัยเฉพาะแรงงานในระบบที่ทำงานในสถานประกอบการขนาดใหญ่เท่านั้น จึงส่งผลให้ขาดการบริการอาชีวอนามัยแก่แรงงานในสถานประกอบการขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง (small and medium enterprises scale : SMEs) เกษตรกร แรงงานที่รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบที่เป็นกลุ่มแรงงานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงควรมีการให้บริการอาชีวอนามัยแก่แรงงานกลุ่มดังกล่าวตามความเสี่ยงของงานด้วยดังเช่นที่แรงงานในระบบได้รับ7,9
ด้วยเหตุนี้ หน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Units) จึงเป็นหน่วยงานที่เหมาะสมต่อการบริการอาชีวอนามัยและการดูแลสุขภาพของแรงงานกลุ่มนี้ แต่พบว่าการดำเนินงานบริการอาชีวอนามัยดังกล่าวยังไม่เป็นรูปธรรมเนื่องจากส่วนใหญ่พบว่า ขาดบุคลากรที่มีความรู้ และสมรรถนะในด้านนี้3, 7, 9 และจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พบว่าพยาบาลวิชาชีพถือเป็นบุคคลสำคัญในการให้บริการดูแลด้านสุขภาพแก่ประชาชน ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากจำนวนหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีพยาบาลปฏิบัติงาน จำนวนถึง 9,444 แห่ง จากหน่วยบริการปฐมภูมิทั้งหมด 9,537 แห่ง 10,11 ดังนั้นพยาบาลจึงเป็นผู้ที่เหมาะสมในการให้บริการอาชีวอนามัยแก่แรงงานในชุมชน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นเหตุผลให้พยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิควรมีสมรรถนะในการบริการอาชีวอนามัยให้แก่แรงงานในชุมชนไม่ว่าจะเป็น แรงงานในสถานประกอบการขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง เกษตรกร แรงงานที่รับงานไปทำที่บ้านและแรงงานนอกระบบ
ปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลจะมุ่งเน้นไปที่สมรรถนะของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือสถาบันการศึกษาเป็นส่วนใหญ่ 12, 13,14 อย่างไรก็ตามมีการศึกษาและประเมินเฉพาะสมรรถนะของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการเท่านั้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเป็นการประเมินสมรรถนะที่เหมาะสมกับบริบทการทำงานของพยาบาลอาชีวอนามัยมากกว่าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ 15,16นอกจากนี้ มีงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาสมรรถนะการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิแต่ศึกษาในภาพรวมเท่านั้น 17,18,19 ผลการศึกษาพบว่าบทบาทด้านการดูแลประชากรกลุ่มแรงงานเป็นบทบาทย่อย ดังการศึกษาของสภาการพยาบาล ที่กำหนดให้พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ ควรมีสมรรถนะด้านงานอาชีวอนามัย สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และจากการสังเคราะห์บทบาทและโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ พบว่าบริการด้านอาชีวอนามัยที่พยาบาลหน่วยบริการปฐมภูมิควรปฏิบัตินั้น ได้แก่ 1) บริการเยี่ยมบ้านที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มวัยแรงงาน 2) คัดกรองภาวะเสี่ยงทางสุขภาพให้แก่กลุ่มวัยแรงงาน 3) การประเมินภาวะสุขภาพ / สิ่งคุกคามด้านสุขภาพและการเฝ้าระวัง 4) การให้บริการสุขภาพเบื้องต้น และ 5) การให้คำปรึกษา 6,20,21,22,23
จากการทบทวนวรรณกรรมข้างต้นพบช่องว่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ยังไม่มีการศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานปฐมภูมิ จากเหตุผลดังกล่าวพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ จึงจำเป็นต้องมีสมรรถนะการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับการบริการอาชีวอนามัยในหน่วยบริการปฐมภูมิ และจากการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่าสมรรถนะในการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาล ส่วนใหญ่เป็นการศึกษา บทบาทและสมรรถนะในการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลอาชีวอนามัยที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ หรือในโรงพยาบาลระดับทุตยภูมิ ตติยภูมิ และศึกษาในลักษณะหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ กับบทบาทหรือสมรรถนะในการปฏิบัติงานเท่านั้น ซึ่งพบว่ายังขาดการศึกษาสมรรถนะการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิ
ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจึงศึกษาตัวแปรสมรรถนะการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยนำแนวคิดการบริการอาชีวอนามัยขั้นพื้นฐาน34,35 และแนวคิดสมรรถนะของ Spencer36 ซึ่งประกอบด้วย ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะเฉพาะของบุคคลมาทำการศึกษา โดยทดสอบแบบจำลองเชิงสาเหตุ (Causal Model) ในรูปแบบของความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (Structural Equation Modeling : SEM)37,38 ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้พิสูจน์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ระหว่างตัวแปรได้อย่างสมบูรณ์ และสามารถอธิบายได้ว่า ตัวแปรสาเหตุแต่ละตัวมีอิทธิพลเท่าไร เป็นอิทธิพลทางตรงหรืออิทธิพลทางอ้อมและมีทิศทางแบบใดต่อตัวแปรตาม การศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ 1) กำหนดองค์ประกอบของสมรรถนะการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ 2) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดสมรรถนะการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิ และเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของพยาบาลให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการบริการอาชีวอนามัยรวมทั้งใช้ในการพัฒนามาตรฐานการบริการอาชีวอนามัยสำหรับพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิต่อไป ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดบริการอาชีวอนามัยที่เหมาะสมแก่แรงงานในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต |
|
|
|
วัตถุประสงค์ของโครงการ |
|
|
1. กำหนดองค์ประกอบของสมรรถนะการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ
2. วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสมรรถนะการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ
3. ค้นหาแบบจำลองสมรรถนะการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ |
ขอบเขตของโครงการผลงาน |
|
|
การวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 ระยะ ได้แก่ 1) การกำหนดองค์ประกอบของสมรรถนะการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและค้นหาแบบจำลองสมรรถนะการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งในขั้นตอนระยะที่ 1 จะเริ่มต้นด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและในระยะที่ 2 จะเป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
|
|
1) สถาบันการศึกษาพยาบาลจะสามารถนำไปพัฒนาหลักสูตรและการฝึกอบรมด้านการบริการ อาชีวอนามัยแก่พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ
2) องค์กรวิชาชีพพยาบาลและสถาบันการศึกษาพยาบาลจะสามารถนำไปพัฒนากิจกรรม / โครงการที่เกี่ยวข้องกับการบริการอาชีวอนามัยในชุมชน
3) องค์กรวิชาชีพพยาบาลจะสามารถใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดสมรรถนะและมาตรฐานการพยาบาลด้านการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ
4) องค์กรวิชาชีพพยาบาลจะสามารถพัฒนาและผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเงินค่าตอบแทน ความ ก้าวหน้าในวิชาชีพและเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานสำหรับพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ
5) สามารถนำแบบจำลองเชิงสาเหตุของสมรรถนะการบริการอาชีวอนามัยของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิไปประยุกต์ใช้กับบุคลากรสาธารณสุขกลุ่มอื่นๆเพื่อผลักดันให้เกิดการบริการอาชีวอนามัยแก่แรงงานในชุมชนที่มีประสิทธิภาพต่อไปเช่น นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เป็นต้น |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา |
|
: |
- |
บทคัดย่อ |
|
|
- |
|
|
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ |
ปี พ.ศ |
คะแนน |
วันที่เผยแพร่ |
โหลด |
|
การเผยแพร่บทความวิชาการ |
ปี พ.ศ |
คะแนน |
วันที่เผยแพร่ |
โหลด |
|
|
บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ
ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก |
ปีปฏิทิน |
: |
2556 |
ปีการศึกษา |
: |
2556 |
ปีงบประมาณ |
: |
2556 |
วันที่เริ่ม |
: |
7 มิ.ย. 2556 วันที่แล้วเสร็จ :
1 ก.ย. 2557 |
แหล่งเงินทุน |
|
|
ชื่อแฟ้มข้อมูล |
ขนาดแฟ้มข้อมูล |
จำนวนเข้าถึง |
วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด |
Download |
ทั้งหมด 0 รายการ |
|