หน่วยงาน :
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี |
ประเภทผลงาน :
โครงการวิจัย |
ชื่อผลงาน: ความสัมพันธ์ด้านปัจจัยส่วนบุคคลกับการใช้ยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี |
|
เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย |
|
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ |
ชื่อผู้ทำวิจัย |
สถานะการทำวิจัย |
สัดส่วน |
|
กลุ่มสาขาวิชาการ |
: |
กลุ่มวิจัยและบริการวิชาการ |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : ยา หมายถึง สารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกาย หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของขบวนการทางพยาธิวิทยาซึ่งทำให้เกิดโรค ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ได้รับยานั้น (WHO)(1)จากรายงานการใช้ยาในโรงพยาบาลภาครัฐกลุ่มยาที่มีมูลค่าการใช้สูงสุดในประเทศในปี พ.ศ 2554 ได้แก่ กลุ่มยาปฏิชีวนะ มูลค่าประมาณ586ล้านบาท(Imipenam+cilastatinและ Meropenem) รองลงมาเป็นกลุ่มยาเกี่ยวกับหลอดเลือดและไขมัน มูลค่าประมาณ 338 ล้านบาท (Rosuvastatinและ Clopidogrel) ส่วนยาที่มีปริมาณการใช้สูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ Omeprazole 20 mg, Paracetamol 500 mg, Enalapril 5 mg, Metformin 500 mg, Aspirin 81 mg, Vitamin B complex, Folic acid 5 mg, Glibenclamide 5 mg, Multivitamins และ Atenolol 50 mg (2)ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนไทยนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายด้านยา เมื่อเทียบกับรายจ่ายทางด้านสุขภาพทั้งหมดค่าใช้จ่ายด้านยาในปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 34.2 และในปี 2548 คิดเป็นร้อยละ 42.8 ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วนับเป็นสัดส่วนที่สูงมาก เนื่องจากในประเทศที่พัฒนาแล้ว(3)พบว่าพฤติกรรมในการใช้ยาของของคนไทยโดยส่วนใหญ่การตัดสินใจในการใช้ยาจะผ่านบุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ เภสัชกร และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่นๆ ประมาณ 2ใน 3 ของการตัดสินใจใช้ยาจะขึ้นกับการตัดสินใจของตนเอง อาศัยคำแนะนำจากญาติ เพื่อนหรือโฆษณา(3)จากการศึกษายังพบว่ามีการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมและเกินความจำเป็นในทุกระดับ ปัญหาหลักๆเนื่องจากการใช้ยาถึงแม้ว่าจะเป็นการใช้ยาที่เหมาะสมก็ตาม เกิดมาจากการใช้ยาหลายขนาน ในการรักษาอาการเจ็บป่วย ซึ่งอาจทำให้เพิ่มอัตรการเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา (side effect), อันตรกริยาระหว่างยากับยา (drug-drug interaction), อันตรกริยาระหว่างยากับโรค (drug-disease interaction), การใช้ยาที่ไม่เหมาะสม (inappropriate use) และการใช้ยาไม่ครบถ้วนตามข้อบ่งใช้ (non-compliance) (4, 5)นอกจากนี้พบว่าประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจใช้ยาปฏิชีวนะด้วยตนเองก่อนมารับการรักษาจากแพทย์โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการใช้ยาโดยไม่จำเป็นหรือมีการใช้ยาไม่ครบขนาดซึ่งอาจก่อให้เกิดการดื้อยาต่อมา(3) จากการสำรวจภาวะสุขภาพอนามัยประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 พ.ศ.2546-2547 พบว่าประชากร 8-9 ล้านคนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปมีการใช้ยาอย่างใดอย่างหนึ่งต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 1 เดือน และมียาที่ใช้ประจำได้แก่ ยาแก้ปวด ยาบำรุงร่างกาย ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาลดความอ้วน ตามลำดับ(6)
ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลในการใช้ยา ได้แก่ อายุ ช่วงอายุที่ต่างกันจะมีการตอบสนองต่อยาที่ต่างกันเนื่องจากภาวะของเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetic) ที่ต่างกัน ในเด็กมีการดูดซึม การกระจายและการขับออกของยาจากร่างกายที่ต่างอย่างมาก กับผู้ใหญ่เนื่องจากความสามารถในการเปลี่ยนแปลงยา (metabolism)โดยตับและภาวะการทำงานของไตยังพัฒนาไม่เต็มที่ (7)หรือในคนชรา เนื่องจากมีสภาวะร่างกายที่เปลี่ยนแปลง เช่น การทำงานของไตที่ลดลงและมีภาวะเสื่อมของระบบประสาท ทำให้ง่ายที่จะเกิดอันตรายจากการใช้ยา (8)นอกจากนี้ภาวะของโรคหลายๆ ชนิดก็มีผลกระทบต่อการตอบสนองของยา เช่น ไมเกรน ทำให้เกิดภาวะ gastric stasis มีผลให้การดูดซึมของยาช้าลง (9) ภาวะไตวายเรื้อรัง ทำให้การจับตัวของยากับโปรตีนในเลือดเปลี่ยนแปลงไปซึ่งส่งผลให้การกระจายตัวของยาในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป (10) การบริโภคแอลกอฮอล์มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงยาชนิดต่างๆ และยังอาจก่อให้เกิดอันตรกริยา (pharmacodynamics drug interaction) กับยาอื่นเนื่องจากแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดประสาท หากรับประทานร่วมกับยาที่ออกฤทธิ์กดสมองเช่น ยาระงับประสาท ก็อาจเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวได้ทำให้ฤทธิ์ในการระงับประสาทเพิ่มมากขึ้น (11) ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อการใช้ยาได้แก่ เพศ ดัชนีมวลกาย การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่เป็นต้น (12)
จากปัจจัยส่วนบุคคล ดังกล่าวก็อาจจะมีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านการใช้ยา ซึ่ง แบ่งได้เป็น 3 ปัญหาหลัก ได้แก่
1. การใช้ยาหลายชนิดในเวลาเดียวกัน (polypharmacy)
2. การใช้ยาที่ไม่เหมาะสม (inappropriate use)
3. การใช้ยาที่ไม่ครอบคลุมกับการรักษาโรค (under-use)(4, 5)
การศึกษาทางระบาดวิทยาเกี่ยวกับการใช้ยาหลายชนิดในเวลาเดียวกัน (polypharmacy) เป็น
ปัญหาที่สามารถประเมินได้จากการนับจำนวนยา ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีจำนวนที่แน่นอนว่าเท่าไรจึงจะเป็นปัญหา แต่จำนวนที่เป็นที่ยอมรับกันว่าอาจก่อให้เกิดปัญหาการใช้ยาหลายชนิดในเวลาเดียวกันคือตั้งแต่ 3-5 รายการต่อใบสั่งยาขึ้นไป (4) มีการศึกษาในประเทศนอร์เวย์ในกลุ่มคนอายุ 70-74 ปีเกี่ยวกับการประเมินการใช้ยากับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าจำนวนยาโดยเฉลี่ยต่อคน เท่ากับ 2.8 ประมาณ 32% มีจำนวนยาที่ใช้มากกว่า 3 รายการ 11.5% มีจำนวนยาที่ใช้มากกว่า 5 รายการขึ้นไป นอกจากนี้ยังพบว่า ดัชนีมวลกาย (BMI) การมีประวัติเคยสูบบุหรี่มากก่อน และการมีสภาวะสุขภาพที่ไม่ดี มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของจำนวนขนานยาที่ใช้ในแต่ละบุคคล(12) ซึ่งในเมืองไทยยังมีการศึกษาเรื่องนี้อยู่น้อยมากโดยการศึกษาใกล้เคียงที่พบว่าพฤติกรรมการใช้ยามีความสัมพันธ์กับ รายได้ครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และพบว่า เพศ อายุ สถานะภาพสมรส และการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (13)
ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาถึงปัจจัยส่วนบุคคลซึ่งใช้เป็นปัจจัยทำนายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในประเทศไทยจึงมีความจำเป็นและสมควรในการประเมินปัจจัยสถานการณ์ของการใช้ยาซึ่งเกิดขึ้นในชุมชนเพื่อที่จะได้มาดำเนินนโยบายในการให้ความรู้แก่บุคคลที่ได้รับยาหลายขนานในเวลาเดียวกัน ให้รู้ถึงปัญหาต่อสุขภาพซึ่งการเกิดขึ้นได้ หรือที่เรียกว่าโรคยาทำ และเป็นยังเป็นการป้องกัน และ/หรือ แก้ไขปัญหาซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา นอกจากนี้ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพทางด้านยาซึ่งนับเป็นค่าใช้จ่ายอันดับต้นๆ ในด้านการดูแลสุขภาพของคนไทย |
|
|
|
วัตถุประสงค์ของโครงการ |
|
|
8.1 เพื่อศึกษาลักษณะของการใช้ยาและลักษณะโดยทั่วไปของประชากรในชุมชน เช่น อันดับยาที่ใช้มาก 10 อันดับแรก จำนวนของขนานยาต่อใบสั่งยา ลักษณะของกลุ่มยาที่ใช้มากและการกระจายของโรคในชุมชน ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคลต่อจำนวนขนานยา เป็นต้น
8.2 เพื่อประเมินปัจจัยส่วนบุคคลเช่น อายุ เพศ การศึกษาสถานภาพสมรส ดัชนีมวลกาย ซึ่งจะใช้เป็นปัจจัยทำนายที่มีผลต่อจำนวนขนานยาต่อใบสั่งยา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี
8.3 เพื่อประเมินการใช้ยาที่อยู่นอกเหนือใบสั่งยากับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลเช่น อายุ เพศ การศึกษา ดัชนีมวลกาย ของผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี |
ขอบเขตของโครงการผลงาน |
|
|
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) เพื่อประเมินสถานะการใช้ยาของผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอจังหวัดสุพรรณบุรีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง มีวิธีการดังนี้
คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการวิเคราะห์อำนาจทดสอบ(Power Analysis)(14)ซึ่งมีปัจจัยกำหนด (Parameters) ดังนี้
- ระดับความเชื่อมั่น (Type I Error, α) = 0.05
- อำนาจทดสอบ (Power:1-β) = 0.80 เพื่อป้องกันการเกิดความผิดพลาดแบบที่ 2 (Type II Error, β ) (15)
- ขนาดอิทธิพล ใช้ขนาดกลาง(Effect Size: ES or ƒ2)ขนาดกลาง = 0.10(14)ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ยอมรับได้ว่าเหมาะสม
จากการใช้ตารงคำนวณของ Cohen และโปรแกรม a priori sample size calculation for
multiple regression (16) โดยกำหนดให้มีปัจจัยทำนาย 15 ปัจจัย พบว่าขนาดของกลุ่มตัวอย่าง n ในการศึกษานี้ ควรมีจำนวนไม่น้อยกว่า 139 คน
การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้จะได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย(Simple random sampling) จากผู้ป่วยที่มาเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพชุมชน ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี
คุณสมบัติในการเป็นผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย(Inclusion Criteria)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือผู้ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีโดยมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. ผู้สูงอายุซึ่งมารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี
2. สามารถฟัง พูด อ่าน เขียน และสื่อสารภาษาไทยได้
3. ช่วยเหลือตัวเองได้
4. มีความยินดีที่จะเข้าร่วมในการวิจัย
5. ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยเด็ก ผู้ปกครองเด็กต้องเป็นผู้ที่ให้ข้อมูล |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
|
|
เพื่อได้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ยาหลายขนานในเวลาเดียวกัน เพื่อนำมาใช้ในการป้องกันอาการไม่พึงประสงค์อันเกิดมาจากการใช้ยาต่อไป |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา |
|
: |
- |
บทคัดย่อ |
|
|
- |
|
|
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ |
ปี พ.ศ |
คะแนน |
วันที่เผยแพร่ |
โหลด |
|
การเผยแพร่บทความวิชาการ |
ปี พ.ศ |
คะแนน |
วันที่เผยแพร่ |
โหลด |
|
|
บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ
ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก |
ปีปฏิทิน |
: |
2556 |
ปีการศึกษา |
: |
2556 |
ปีงบประมาณ |
: |
2556 |
วันที่เริ่ม |
: |
22 เม.ย. 2556 วันที่แล้วเสร็จ :
1 ก.ย. 2557 |
แหล่งเงินทุน |
|
|
ชื่อแฟ้มข้อมูล |
ขนาดแฟ้มข้อมูล |
จำนวนเข้าถึง |
วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด |
Download |
ทั้งหมด 0 รายการ |
|