เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: การประยุกต์ใช้แนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสู ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
กลุ่มสาขาวิชาการ : เทคนิคเภสัชกรรม
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   ปัญหาด้านผู้สูงอายุ (Ageing Population) นับเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่เกิดในปัจจุบันอีกปัญหาหนึ่งที่กำลังเป็นภาวะคุกคามกับระบบสาธารณสุขและความมั่นคงของหลายประเทศบนโลกนี้ ตัวอย่างเช่น ชาวอังกฤษราว 10 ล้านคนมีอายุเกิน 65 ปี และจะมีเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 5.5 ล้านคนภายใน 20 ปีข้างหน้า ซึ่งจากการคาดการณ์พบว่าในปี ค.ศ. 2050 ประเทศอังกฤษจะมีประชากรที่มีอายุเกิน 65 ปีประมาณ 19 ล้านคน และในจำนวนผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีทั้งหมดนั้นมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 80 ปีประมาณ 3 ล้านคน และจากการคาดการณ์ มีความเป็นไปได้ว่าในปี 2050 ตัวเลขอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคน (Anon, 2000)ในสหรัฐอเมริกา ผู้สูงอายุมักจะมีแพทย์ประจำตัวในการดูแลตนเอง โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งไม่ได้มีการบูรณาการการรักษาร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ในด้านอื่นๆ ทำให้ในหลายๆ กรณีมักเกิดผลในเชิงลบต่อการรักษา เช่น ภาวะซึมเศร้า การขาดการดูแลแผลในช่องปาก การไม่ใช้ยาตามแพทย์สั่ง ทั้งๆที่แพทย์ได้ให้การรักษาผู้ป่วยอย่างครบถ้วนและครอบคลุมแล้ว (Koenig, 2000) ซึ่งบุคลากรทางแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุอื่นๆ ได้แก่ พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรสาธารณสุขด้านอื่นๆ เช่น เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานเภสัชกรรม ซึ่งถือว่ามีความสำคัญและมีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยในระดับชุมชน (Primary Care Level) และต่างก็มีความสำคัญในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
Hepler and Strand (1990) ได้เสนอระบบการดูแลผู้ป่วยในสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่าการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม(Holistic Care)ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในระดับสูงสุดและทีมสุขภาพ เช่น เภสัชกร พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ที่ช่วยดูแลผู้ป่วยในระดับทุติยภูมิและระดับชุมชน ในการทำหน้าที่ดังกล่าว บุคลากรด้านสาธารณสุขเหล่านี้จะทำหน้าที่ร่วมกับแพทย์ในการออกแบบการรักษาผู้ป่วย การดำเนินการตามขั้นตอนการรักษา และการติดตามผลจากการรักษาในผู้ป่วย โดยข้อสำคัญคือการให้ผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการวางแผนการรักษาร่วมกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการรักษาและลดมูลค่าการใช้ทรัพยากรทางด้านสาธารณสุขลง รวมทั้งทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นดังนั้นทั้งในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา จึงมีการนำแนวคิดด้านการจัด Holistic Health Care Modelที่เหมาะสมในบริบทของพื้นที่ที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน มาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้สูงอายุอย่างกว้างขวาง โดยการมุ่งเน้นไปที่การดูแลผู้ป่วยในระดับชุมชน (Community Care) ซึ่งจากแนวคิดนี้ ทำให้คณะผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ โดยเฉพาะในโรคเบาหวานและความดัน ในระดับชุมชน ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพทางสาธารณสุขแบบองค์รวม (HolisticHealthCareModel) ในผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพทางสาธารณสุขแบบองค์รวมในผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (SurveyResearch)เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมของการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม โดยทีมสุขภาพอันประกอบด้วยพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี
ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดัน ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    -
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : -
    บทคัดย่อ
   
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2556
ปีการศึกษา : 2556
ปีงบประมาณ : 2556
วันที่เริ่ม : 6 พ.ค. 2556    วันที่แล้วเสร็จ : 2 ก.ย. 2557
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 60,600.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 60,600.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48