เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
กลุ่มสาขาวิชาการ : กลุ่มวิจัยและบริการวิชาการ
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   เครื่องแอลกอฮอล์ เป็นสิ่งเสพติดที่พบบ่อยมากที่สุดในชุมชนทั่ว ๆ ไป เนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถเสพและครอบครองได้โดยไม่ผิดกฎหมายและหาซื้อได้ง่าย การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก โดยแอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ ความจำ การเรียนรู้ และการควบคุมตนเอง เมื่อสมองส่วนนี้ถูกกดจะทำให้ผู้ดื่มไม่มีความยับยั้ง เพราะระบบควบคุมตนเองเสียไป แต่อย่างไรก็ตามการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทยโดยทั่วไปอาจถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะมีการดื่มกันอย่างแพร่หลาย จะเห็นได้จาก การที่งานเลี้ยง งานสังสรรค์ งานประเพณีต่าง ๆ แทบทุกงานจะต้องมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประกอบด้วยเสมอ ซึ่งอาจเนื่องมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วรู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนาน เข้าสังคมกับผู้อื่นได้ดี เกิดความกล้าที่จะพูด และทำในสิ่งที่ปกติแล้วไม่กล้าทำ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้มีผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทุกสังคม และเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย โดยพบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มบ่อย ๆ หรือนาน ๆ ครั้ง รวมทั้งปริมาณการดื่ม ไม่ว่าจะดื่มครั้งละน้อย ๆ หรือดื่มครั้งละมาก ๆ ก็ก่อให้เกิดการเมาสุรา การติดสุรา และผลของพิษจากแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดผลกระทบหลายประการ เช่น โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมองแตก ปัญหาอุบัติเหตุ ปัญหาสังคมระยะสั้น เช่น อาชญากรรม ปัญหาการทำงาน ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และปัญหาสังคมระยะยาว เช่น หนี้สิน สูญเสียหน้าที่การงาน ครอบครัวแตกแยก คนจรจัดไร้ที่อยู่(บัณฑิต ศรไพศาล และคนอื่น ๆ, 2549) นอกจากนี้การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังเป็นสาเหตุของความสูญเสียของสังคมไทยโดยพบว่า มีสถิติการตายจากอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการดื่มแอลกอฮอล์เป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่ มะเร็ง ตับแข็ง การถูกทำร้าย โรคทางจิตเวช โรคหัวใจและหลอดเลือดและอื่น ๆ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบทางสังคมในระดับสูง (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2550)
จากข้อมูลการจัดอันดับขององค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า คนไทยดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นอันดับที่ 50 ของโลกในปี 2541 และเพิ่มขึ้นมาเป็นอันดับที่ 40 ในปี 2544 และปริมาณการดื่มประมาณ 8.5 ลิตรต่อคนต่อปี ซึ่งได้มีการคาดการณ์อนาคตว่าการดื่มจะเพิ่มมากขึ้น 1 เท่าในทุก 3 ปี (ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา,2549) และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้สำรวจการดื่มแอลกอฮอล์ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา (2539-2547) ผลการสำรวจพบว่าคนไทยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นจาก 13.7 ล้านคน ในปี 2539 เป็น 16.1 ล้านคนในปี 2547 โดยมีสัดส่วนการดื่มของเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2-5 เท่า (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2548)
จะเห็นได้ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งเสพติดที่มีผลกระทบและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจในการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรีเพื่อเปรียบเทียบอัตราความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล,ทัศนคติในการดื่มแอลกอฮอล์,เศรษฐกิจ,สื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดื่มแอลกอฮอล์
ดังนั้น ผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานต่อนักศึกษาและสถาบันการศึกษาเพื่อทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ อีกทั้งยังตระหนักและเข้าใจถึงปัญหาที่จะเกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะนำไปสู่การผลักดันให้เกิดมาตรการการควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์ดังกล่าว นอกจากนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลเพื่อเร่งหามาตรการในการลดปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาที่จะเป็นอนาคตของชาติ และเพื่อป้องกันการดื่มในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการดื่มต่อไป
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    1. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุข
สิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ศูนย์ให้การศึกษาโรงเรียนสหวิทย์บริหารธุรกิจ จังหวัดสุพรรณบุรี
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ศูนย์ให้การศึกษาโรงเรียนสหวิทย์บริหารธุรกิจ จังหวัดสุพรรณบุรี
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษา การเปรียบเทียบพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ศูนย์ให้การศึกษาโรงเรียนสหวิทย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ทราบถึงอัตราความชุกและพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่าง นักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี และ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ศูนย์ให้การศึกษาโรงเรียนสหวิทย์บริหารธุรกิจ จังหวัดสุพรรณบุรี
2. ทราบถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ศูนย์ให้การศึกษาโรงเรียนสหวิทย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
3. เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนและกำหนดนโยบายในการป้องกันและแก้ไขนักศึกษาที่มีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : -
    บทคัดย่อ
   
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2556
ปีการศึกษา : 2556
ปีงบประมาณ : 2556
วันที่เริ่ม : 7 มิ.ย. 2556    วันที่แล้วเสร็จ : 2 ก.ย. 2557
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 21,596.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 21,596.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48